แนวคิด

บ้านร้าว จากการทำห้องใต้ดิน

basement

ห้องใต้ดินส่วนใหญ่เมื่อสร้างเสร็จแล้วมักจะไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์มากนัก สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากน้ำที่ซึมเข้ามาในตัวอาคาร โดยเฉพาะในบริเวณภาคกลางของประเทศ เช่นกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง สาเหตุส่วนใหญ่อยู่ที่เทคนิคและความประณีตในการก่อสร้างตั้งแต่การการเลือกใช้ชนิดและประเภทของแผ่นกันน้ำรวมทั้งการวางแถบกันน้ำและการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตตลอดจนการเทและการหยุดคอนกรีตทั้งที่พื้นและที่กำแพง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก สำหรับคอนกรีตห้องใต้ดินจะต้องมีความหนาแน่นสูง เพื่อให้การซึมของน้ำได้ต่ำนั่นคือต้องรักษาอัตราส่วนน้ำ ปูนซีเมนต์ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรผสมสารเคมีเพิ่มความสามารถในการเทและสารกันน้ำ


มวลรวมที่จะใช้กับคอนกรีตห้องใต้ดิน นั้นจะต้องคัดส่วนขนาดคละอย่างดีโดยเฉพาะถ้าเป็นกรวดหรือมวลหยาบ ถ้าผสมมวลรวมโดยไม่มีการคัดกรวดเม็ดที่มีขนาดใหญ่อาจจะติดอยู่ระหว่างเหล็กเสริมแนวนอนของกำแพง ทำให้เกิดรูพรุนหรือโพรงได้ ซึ่งจะกลายเป็นจุดอ่อนที่น้ำจะซึมเข้ามาได้โดยง่าย
สาเหตุสำคัญอีกอย่างก็เนื่องมาจากการใช้แถบกันน้ำไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีตแถบกั้นน้ำนั้นอาจถูกคอนกรีตทับพังลงได้เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมเข้ามาภายในห้องใต้ดินได้ง่ายขึ้น วิธีป้องกันนั้นควรใช้ลวดเหล็กหรืออื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 เซนติเมตร การต่อแถบกั้นน้ำก็ควรกระทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตเช่นผู้ผลิตแนะนำให้ต่อโดยใช้ความร้อนเชื่อมก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แต่ถึงจะมีการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอย่างดีก็อาจจะมีบางจุดที่น้ำสามารถซึมเข้ามาได้ โดยปรกติวิธีแก้ไขปัญหาห้องไต้ดินที่น้ำรั่วซึมจะแก้ไขโดยการทำรางน้ำไว้โดยรอบ จะมีบ่อพักและเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติไว้ หากมีน้ำรั่วซึมก็จะไหลไปรวมกันที่บ่อพัก ถ้าเป็นการรั่วซึมที่จุดเล็ก ๆ จะซ่อมได้ง่าย โดยใช้ปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วอุดรอยรั่ว แต่พึงสังวรไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุดรอยรั่วนั้นจะมีคุณสมบัติในทางกั้นน้ำไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสภาพการรั่วซึมแต่ละอย่าง ควรนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาทดลองเสียก่อนจนแน่ใจว่าได้ผลดีหรือไม่ จึงค่อยลงมือซ่อมแซมจริงๆ ครับ
สาเหตุสำคัญอีกอย่างที่เป็นสาเหตุของการวิบัติของห้องใต้ดินก็เนื่องมาจากการใช้แถบกันน้ำไม่ถูกวิธี เมื่อเทคอนกรีตแถบกั้นน้ำนั้นอาจถูกคอนกรีตทับพังลงได้เท่ากับเปิดทางให้น้ำซึมเข้ามาภายในห้องใต้ดินได้ง่ายขึ้น วิธีป้องกันนั้นควรใช้ลวดเหล็กหรือวัสดุสังเคราะห์ที่เพื่อความแข็งแรงและแรงยึดเหนี่ยวอื่น ๆ ช่วยยึดระยะทุก ๆ 20 เซนติเมตร การต่อแถบกั้นน้ำก็ควรกระทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตเช่นผู้ผลิตแนะนำในกรณีที่ต้องต่อแบกันน้ำโดยวิธีใช้ความร้อนเชื่อมก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แต่กระนั้นในบางกรณีถึงแม้จะมีการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอย่างดีเพียงใดก็ตามก็อาจจะมีบางจุดที่น้ำสามารถซึมผ่านเข้ามาได้ โดยปรกติวิธีแก้ไขปัญหาห้องไต้ดินที่น้ำรั่วซึมจะแก้ไขโดยการทำรางน้ำไว้โดยรอบ จะมีบ่อพักและเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติไว้ หากมีน้ำรั่วซึมก็จะไหลไปรวมกันที่บ่อพัก ถ้าเป็นการรั่วซึมที่จุดเล็ก ๆ จะซ่อมได้ง่าย โดยใช้ปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วอุดรอยรั่ว แต่พึงสังวรไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุดรอยรั่วนั้นจะมีคุณสมบัติในทางกั้นน้ำไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสภาพการรั่วซึมแต่ละกรณีไปดังนั้นจึง ควรนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาทดลองเสียก่อนจนแน่ใจว่าได้ผลดีหรือไม่ จึงค่อยลงมือซ่อมแซมจริงๆ ครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำห้องใต้ดินนั้นยุ่งยากและอาจจะเกิดการวิบัติของห้องใต้ดินได้ รู้อย่างนี้แล้วหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีห้องใต้ดินจะเป็นการแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุน่าจะดีกว่าครับ

  • Hits: 696

ติดต่อเรา

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.